วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

จักรวาล

จักรวาลของเราที่มีดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางนั้นได้ ถือกำเนิดมาจากกลุ่มแก๊สร้อนกลุ่มหนึ่ง ของทางช้างเผือก เมื่อประมาณ 5,000 ล้านปีมาแล้ว จักรวาลนี้เป็นจักรวาลที่มีความไม่ธรรมดา อยู่หลายประการ เช่น มีสิ่งมีชีวิต มีวงโคจรของดาวเคราะห์บริวารของจักรวาลนี้ ที่แทบจะอยู่ในระนาบเดียวกันหมด นอกจากนี้ดาวเคราะห์ส่วนมาก จะหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกัน ยกเว้นดาวศุกร์และพลูโต ซึ่งหมุนสวนทิศกับดาวดวงอื่นๆ ที่แปลกสุดแปลกคือดาวมฤตยูนั้น จะตะแคงตัวหมุน ครั้นเมื่อนักดาราศาสตร์ เปรียบเทียบความเร็วในการโคจร ของดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์แล้ว เขาก็พบว่าดวงอาทิตย์ของเรา หมุนช้าอย่างแทบไม่น่าเชื่อ แค่นี้ยังไม่พอ นักวิทยาศาสตร์ก็ยังรู้แปลก ที่ยังตอบไม่ได้ว่าเหตุใดดวงจันทร์ ของโลกและดวงจันทร์ของดาวพลูโตจึงมีขนาดใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับดาวแม่ ในขณะที่ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์อื่นๆ นั้นเล็กนิดเดียว และดวงจันทร์เหล่านั้นมาจากไหน เหตุใดดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์จึงประกอบด้วยธาตุหนัก แต่เหล่าดาวที่อยู่ไกลจึงมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุเบา เหตุใด เหตุใด และเหตุใด
ทฤษฎีใดๆ ของสุริยจักรวาลที่ถูกต้อง และสมบูรณ์จะต้องอธิบายและตอบคำถามต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้หมด

ในอดีตเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว นักดาราศาสตร์เคยวาดฝันเกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาลว่าได้มีดาวฤกษ์ดวงใหญ่อีกหนึ่งดวงโคจรมาใกล้ดวงอาทิตย์ของเรา และแรงดึงดูดอันมหาศาลของดวงดาวนั้นได้ดึงดูดแก๊สร้อนจากดวงอาทิตย์ให้หลุดปลิวลอยไปในอวกาศ เมื่อแก๊สนั้นเย็นลง มันจึงจับตัวแข็งเป็นดาวเคราะห์ แต่หลักฐานต่างๆ ในปัจจุบันส่อแสดงให้เห็นแล้วว่า ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ นั้นเกิดมาพร้อมๆ กัน ดังนั้นทฤษฎีนี้จึงต้องตกไป
ส่วนนักปราชญ์ชื่อ Kant และนักฟิสิกส์ชื่อ Laplace นั้นเคยเชื่อว่า สุริยจักรวาลเกิดจากกลุ่มแก๊สที่หมุนรอบตัวเองจนมีลักษณะเป็นจานกลมเมื่อส่วนต่างๆ ของขอบจานเย็นลงมันจะหดตัวและจับตัวรวมกันเป็นดาวเคราะห์ต่างๆ แต่ถ้าทฤษฎีนี้เป็นจริง เมื่อดาวเคราะห์ต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ดวงอาทิตย์ก็ควรจะหมุนเร็วขึ้น แต่กลับปรากฏว่าดวงอาทิตย์นั้นหมุนช้ามาก ทฤษฎีนี้จึงต้องมีการปรับปรุง
การสังเกตข้อมูลที่ดาวเทียม Infrared Astronomical Satellite ส่งมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ ได้เห็นดาวฤกษ์หลายดวง เช่น Beta Pictoris ว่ามีแก๊สเย็นห้อมล้อมอยู่ การเห็นนี้จึงทำให้นักดาราศาสตร์ปัจจุบันคิดว่า นี่คือภาพของสุริยจักรวาลตอนถือกำเนิดใหม่ๆ

ก็ในเมื่อกล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope ที่สหรัฐฯ ส่งขึ้นไปค้นหาดาวเคราะห์ ยังใช้การไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์ จึงต้องหันมาพึ่งพาอาศัยอุปกรณ์อื่นๆ จึงขณะนี้ได้มีนักวิจัยบางคน ใช้คอมพิวเตอร์สร้างแบบจำลองการกำเนิด ของสุริยจักรวาลขึ้นในจอ โดยรวมกำหนดว่าในตอนเริ่มต้น มีดาวเคราะห์ที่มีขนาดพอๆ กับโลกเราประมาณ 500 ดวง แล้วดาวเหล่านี้ชนกันหรือกัน โดย G. Wetherill แห่งสถาบัน Carnegie ที่ Washington ได้พบว่ากระบวนการชนบิลเลียดในอวกาศ ลักษณะนี้สามารถนำไปสู่การเกิดดาวเคราะห์ 9 ดวงดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ได้ และโลกของเราจะต้องถูกชน ด้วยอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่เท่าดาวพุธ จึงจะทำให้ ชิ้นส่วนหนึ่งของโลกหลุดออกไป เป็นดวงจันทร์

จะยังไงก็ตามแต่ ตราบเท่าทุกวันนี้ เราก็ยังไม่มีทฤษฎีกำเนิดสุริยจักรวาล ที่สมบูรณ์ดีเลย จึงเป็นว่าสนามความคิดสำหรับเรื่องนี้ ยังมีอาณาบริเวณกว้างพอที่ จะรองรับจิตนาการจากคนทุกคนครับ


ที่มา: https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/dr_sutat/bornuniv.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น