ดาวเทียม
สถานีบนพื้นโลก
ดาวเทียม (อังกฤษ: satellite)
คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก
ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร
การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ
โลก
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ[1]
เนื้อหา
-
-
ประวัติดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขั้นกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมาประเทศที่ยิงดาวเทียมประเทศที่ยิงดาวเทียมสำเร็จ(แดง), องค์กรณ์ที่ยิงดาวเทียมสำเร็จ(ส้ม), ประเทศที่มีแผนจะยิงดาวเทียม(เขียว)ดาวเทียมสปุตนิก 1ของสหภาพโซเวียต เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก
อันดับ
|
ประเทศ
|
วันที่ปล่อย
|
ดาวเทียม
|
จรวด
|
จุดปล่อย
|
1
|
4
ตุลาคม 1957
|
Sputnik-PS
|
ไบโคนูร์, สหภาพโซเวียต (คาซัคสถานปัจจุบัน)
|
||
2
|
1
กุมภาพันธ์ 1958
|
ดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอ 1
|
Juno
I
|
แหลมคานาเวอรัล, สหรัฐอเมริกา
|
|
3
|
26
พฤศจิกายน 1965
|
Astérix
1
|
Diamant
A
|
Hammaguir,
แอลจีเรีย
|
|
4
|
11
กุมภาพันธ์ 1970
|
Lambda-4S
|
อุชิโนอุระ,
ญี่ปุ่น
|
||
5
|
24
เมษายน 1970
|
Long
March 1
|
|||
6
|
28
ตุลาคม 1971
|
Prospero
|
Black
Arrow
|
วูเมอรา,
ออสเตรเลีย
|
|
—
|
24
ธันวาคม 1979
|
แคท-1
|
Ariane
1
|
คูรู,
เฟรนช์เกียนา
|
|
7
|
18
กรกฎาคม 1980
|
ดาวเทียมโรหิณี 1
|
SLV
|
ศรีหริโคตา,
อินเดีย
|
|
8
|
19
กันยายน 1988
|
ดาวเทียมโอเฟก 1
|
Shavit
|
พัลมาชิม,
อิสราเอล
|
|
—
|
21
มกราคม 1992
|
ดาวเทียมคอสมอส 2175
|
Tsyklon-3
|
เพลเชสค,
รัสเซีย
|
|
—
|
13
กรกฎาคม 1992
|
Strela-3
|
Soyuz-U
|
เพลเชสค,
รัสเซีย
|
|
9
|
2
กุมภาพันธ์ 2009
|
ดาวเทียมโอมิด
|
Safir-1A
|
เซมนาน,
อิหร่าน
|
|
10
|
12
ธันวาคม 2012
|
ดาวเทียมกวางเมียงซอง-3 เวอร์ชันที่ 2
|
Unha-3
|
โซแฮ,
เกาหลีเหนือ
|
ประเทศที่มีดาวเทียมดวงแรก
ประเทศที่มีดาวเทียม
ยิงดาวเทียม และ ดาวเทียมบริการ
ดาวเทียมบริการ, ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
กำลังพัฒนาดาวเทียม
ยิงดาวเทียม อยู่ในโครงการพัฒนาขีปนาวุธ
ประเทศ
|
ปีที่ปล่อย
|
ดาวเทียมดวงแรก
|
1957
(1992) |
ดาวเทียมสปุตนิก 1
(ดาวเทียมคอสมอส 2175) |
|
1958
|
ดาวเทียมเอ็กซ์พลอเรอ 1
|
|
1962
|
Ariel
1
|
|
1962
|
Alouette
1
|
|
1964
|
San
Marco 1
|
|
1965
|
Astérix
1
|
|
1967
|
WRESAT
|
|
1969
|
Azur
|
|
1970
|
||
1970
|
||
1974
|
ANS
|
|
1974
|
Intasat
|
|
1975
|
Aryabhata
|
|
1976
|
Palapa
A1
|
|
1978
|
Magion
1
|
|
1981
|
Intercosmos
Bulgaria 1300
|
|
1985
|
Arabsat-1A
|
|
1985
|
Brasilsat
A1
|
|
1985
|
Morelos
1
|
|
1986
|
Viking
|
|
1988
|
ดาวเทียมโอเฟก 1
|
|
1988
|
Astra
1A
|
|
1990
|
Lusat
|
|
1990
|
Badr-1
|
|
1992
|
Kitsat
A
|
|
1993
|
PoSAT-1
|
|
1993
|
||
1994
|
Turksat
1B
|
|
1995
|
Sich-1
|
|
1996
|
MEASAT
|
|
1997
|
Thor
2
|
|
1997
|
Mabuhay
1
|
|
1998
|
Nilesat
101
|
|
1998
|
FASat-Bravo
|
|
1998
|
ST-1
|
|
1999
|
ROCSAT-1
|
|
1999
|
Ørsted
|
|
1999
|
SUNSAT
|
|
2000
|
Thuraya
1
|
|
2001
|
Maroc-Tubsat
|
|
2002
|
Alsat
1
|
|
2003
|
Hellas
Sat 2
|
|
2003
|
Hellas
Sat 2
|
|
2003
|
Nigeriasat
1
|
|
2005
|
Sina-1
|
|
2006
|
KazSat
1
|
|
2007
|
Libertad
1
|
|
2007
|
Rascom-QAF
1
|
|
2008
|
Vinasat-1
|
|
2008
|
Venesat-1
|
|
2009
|
SwissCube-1
|
|
2012
|
PW-Sat-1
|
|
2012
|
MaSat-1
|
|
2012
|
Goliat
|
|
2012
|
BelKA-2
|
|
2012
|
ดาวเทียมกวางเมียงซอง-3 เวอร์ชันที่ 2
|
|
2013
|
Azerspace
|
|
2013
|
TUGSAT-1
|
|
2013
|
NEE-01
Pegaso
|
|
2013
|
ESTCube-1
|
|
2013
|
O3b-1
|
|
2013
|
Es'hailSat1
|
|
2013
|
PUCPSAT-1
|
|
2013
|
TKSat-1
|
|
2014
|
LituanicaSAT-1
และ LitSat-1
|
|
2014
|
QB50P1
และ QB50P2
|
|
2014
|
Antelsat
|
|
2014
|
Tigrisat
|
|
2015
|
TurkmenAlem52E/MonacoSAT
|
|
2015
|
Lao
Sat-1[2]
|
ส่วนประกอบดาวเทียม
ดาวเทียมเป็นเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน มีส่วนประกอบหลายๆ
อย่างประกอบเข้าด้วยกันและสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ สามารถโคจรรอบโลกด้วยความเร็วที่สูงพอที่จะหนีจากแรงดึงดูดของโลกได้
การสร้างดาวเทียมนั้นมีความพยายามออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ
ทำงานได้อย่างประสิทธิภาพมากที่สุด และราคาไม่แพงมาก
ดาวเทียมประกอบด้วยส่วนประกอบเป็นจำนวนมาก
แต่ละส่วนจะมีระบบควบคุมการทำงานแยกย่อยกันไป และมีอุปกรณ์เพื่อควบคุมให้ระบบต่างๆ
ทำงานร่วมกัน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวเทียมประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1.
โครงสร้างดาวเทียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก
โครงจะมีน้ำหนักประมาณ 15 - 25% ของน้ำหนักรวม ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา และต้องไม่เกิดการสั่นมากเกินที่กำหนด
หากได้รับสัญญาณที่มีความถี่ หรือความสูงของคลื่นมากๆ (amptitude)
2.
ระบบเครื่องยนต์ ซึ่งเรียกว่า "aerospike" อาศัยหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องอัดอากาศ
และปล่อยออกทางปลายท่อ ซึ่งระบบดังกล่าวจะทำงานได้ดีในสภาพสุญญากาศ
ซึ่งต้องพิจารณาถึงน้ำหนักบรรทุกของดาวเทียมด้วย
3.
ระบบพลังงาน ทำหน้าที่ผลิตพลังงาน และกักเก็บไว้เพื่อแจกจ่ายไปยังระบบไฟฟ้าของดาวเทียม
โดยมีแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar
Cell) ไว้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ให้ดาวเทียม แต่ในบางกรณีอาจใช้พลังงานนิวเคลียร์แทน
4.
ระบบควบคุมและบังคับ ประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ที่เก็บรวมรวมข้อมูล
และประมวลผลคำสั่งต่างๆ ที่ได้รับจากส่วนควบคุมบนโลก โดยมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (Radar System) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร
5.
ระบบสื่อสารและนำทาง มีอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ซึ่งจะทำงาน
โดยแผงวงจรควบคุมอัตโนมัติ
6.
อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง
เพื่อรักษาระดับความสูงให้สัมพันธ์กันระหว่างพื้นโลก และดวงอาทิตย์
หรือเพื่อรักษาระดับให้ดาวเทียมสามารถโคจรอยู่ได้
7.
เครื่องมือบอกตำแหน่ง เพื่อกำหนดการเคลื่อนที่
นอกจากนี้ยังมีส่วนย่อยๆ อีกบางส่วนที่จะทำงานหลังจาก ได้รับการกระตุ้นบางอย่าง
เช่น ทำงานเมื่อได้รับสัญญาณ สะท้อนจากวัตถุบางชนิด
หรือทำงานเมื่อได้รับลำแสงรังสี ฯลฯ
ชิ้นส่วนต่างๆ
ของดาวเทียมได้ถูกทดสอบอย่างละเอียด ส่วนประกอบต่างๆ ถูกออกแบบสร้าง
และทดสอบใช้งานอย่างอิสระ ส่วนต่างๆ ได้ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกัน
และทดสอบอย่างละเอียดครั้งภายใต้สภาวะที่เสมือนอยู่ในอวกาศก่อนที่มัน
จะถูกปล่อยขึ้นไปในวงโคจร ดาวเทียมจำนวนไม่น้อยที่ต้องนำมาปรับปรุงอีกเล็กน้อย
ก่อนที่พวกมันจะสามารถทำงานได้ เพราะว่าหากปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรแล้ว
เราจะไม่สามารถปรับปรุงอะไรได้ และดาวเทียมต้องทำงานอีกเป็นระยะเวลานาน
ดาวเทียมส่วนมากจะถูกนำขึ้นไปพร้อมกันกับจรวด
ซึ่งตัวจรวดจะตกลงสู่มหาสมุทรหลังจากที่เชื้อเพลิงหมด
วงโคจรของดาวเทียม
วงโคจรดาวเทียม
(Satellite
Orbit) เมื่อแบ่งตามระยะความสูง (Altitude) จากพื้นโลกแบ่งเป็น
3 ระยะคือ
วงโคจรต่ำของโลก
(Low Earth Orbit
"LEO")[แก้]
คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน
2,000
กม. ใช้ในการสังเกตการณ์ สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ
ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา
เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง
แต่จะสามารถบันทึกภาพคลุมพื้นที่ตามเส้นทางวงโคจรที่ผ่านไป
ตามที่สถานีภาคพื้นดินจะกำหนดเส้นทางโคจรอยู่ในแนวขั้วโลก (Polar Orbit) ดาวเทียมวงโคจรระยะต่ำขนาดใหญ่บางดวงสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลาค่ำ
หรือก่อนสว่าง เพราะดาวเทียมจะสว่างเป็นจุดเล็ก ๆ
เคลื่อนที่ผ่านในแนวนอนอย่างรวดเร็ว
วงโคจรระยะปานกลาง
(Medium Earth
Orbit "MEO")[แก้]
อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่
5000-15,000
กม. ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา
และสามารถใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่ได้ แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน...
วงโคจรประจำที่
(Geosynchonus
Earth Orbit "GEO")[แก้]
เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่
อยู่สูงจากพื้นโลก 35,786
กม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit) ดาวเทียมจะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเองทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือ
จุดจุดหนึ่งบนโลกตลอดเวลา (เรียกทั่ว ๆ ไปว่า "ดาวเทียมค้างฟ้า")
ดาวเทียมจะอยู่กับที่เมื่อเทียบกับโลกมีวงโคจรอยู่ในระนาบเดียวกันกับเส้นศูนย์สูตร
อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,768 กม. วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า “วงโคจรค้างฟ้า” หรือ “วงโคจรคลาร์ก” (Clarke
Belt) เพื่อเป็นเกียรติแก่นาย อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก
ผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวงโคจรนี้ เมื่อ เดือนตุลาคม ค.ศ.
1945
วงโคจรคลาร์ก
เป็นวงโคจรในระนาบเส้นศูนย์สูตร (EQUATOR)
ที่มีความสูงเป็นระยะที่ทำให้ดาวเทียมที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากันกับการหมุนของโลก
แล้วทำให้เกิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางมีค่าพอดีกับค่าแรงดึงดูดของโลกพอดีเป็นผลให้ดาวเทียมดูเหมือนคงอยู่กับที่
ณ ระดับความสูงนี้
ดาวเทียมค้างฟ้าส่วนใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น
ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ๆลๆ
ประเภทของดาวเทียม
1.
ดาวเทียมสำรวจ
เป็นการใช้ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของโลก
เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีการถ่ายภาพ และโทรคมนาคม
โดยการทำงานของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรจะใช้หลักการ สำรวจข้อมูลจากระยะไกล
การทำงานของดาวเทียม
ดาวเทียมจะถูกส่งขึ้นไปลอยอยู่ในตำแหน่ง
วงโคจรค้างฟ้า ซึ่งมีระยะห่างจากพื้นโลกประมาณ 36000 -
38000 กิโลเมตร และโคจรตามการหมุนของโลก
เมื่อเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นโลกจะเสมือนว่าดาวเทียมลอยนิ่งอยู่บนท้องฟ้า และดาวเทียมจะมีระบบเชื้อเพลิงเพื่อควบคุมตำแหน่งให้อยู่ในตำแหน่งองศาที่ได้สัปทานเอาไว้
กับหน่วยงานที่ดูแลเรื่องตำแหน่งวงโคจรของดาวเทียมคือ IFRB (International Frequency Registration
Board) ดาวเทียมที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
จะทำหน้าที่เหมือนสถานีทวนสัญญาณ คือจะรับสัญญาณที่ยิงขึ้นมาจากสถานีภาคพื้นดิน
เรียกสัญญาณนี้ว่าสัญญาณขาขึ้นหรือ (Uplink) รับและขยายสัญญาณพร้อมทั้งแปลงสัญญาณให้มีความถี่ต่ำลงเพื่อป้องกันการรบกวนกันระหว่างสัญญาณขาขึ้นและส่งลงมา
โดยมีจานสายอากาศทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณ ส่วนสัญญาณในขาลงเรียกว่า (Downlink)[3]
อ้างอิง